หมอแอร์ ให้ความรู้หลัง นักวิ่งวูบเสียชีวิต เตือนควรพบแพทย์ทันทีก่อนออกกำลังกาย เพราะไม่รู้ว่าวูบจากเพราะสาเหตุอะไร นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา หรือ หมอแอร์ ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กให้ความรู้หลังมีข่าวนักวิ่งวูบเสียชีวิต ฝากถึงประชาชนและนักกีฬาเตือนว่า โรควูบเป็นโรคอันตราย และรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้
หมอแอร์ ระบุว่า “ฝากถึงนักกีฬา และ บุคคลทั่วไปที่ออกกำลังกายครับ
อาการวูบ ขณะออกกำลังกาย ให้ถือว่าเป็นความผิดปกติ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ การวูบ เป็นลม ส่วนใหญ่ จะมาจาก การออกกำลังกายที่หนักเกินไป นานไป แต่ส่วนน้อย มาจากการมีโรคซ่อน โดยเฉพาะ โรคหัวใจ และ โรคสมอง ที่อันตรายมากๆ ดังนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่วูบ หรือจะวูบ
( วูบหมายถึง หมดสติ จอดับ ไม่รู้ตัวนะครับ อาการ หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า ไม่นับเป็นวูบ)
ต้องพบแพทย์ ยิ่งเร็วยิ่งดี ตรวจให้แน่ใจ ว่าไม่มีโรคอันตรายซ่อนอยู่ ก่อนที่จะออกกำลังครั้งต่อไป เราไม่สามารถแยกเองได้ 100% ว่าวูบจาก ออกกำลังหนัก หรือวูบจากมีโรคซ่อนครับ การวูบ หน้ามืด เจ็บหน้าอก ขณะแข่ง ไม่มีการนั่งพักให้หายแล้วไปต่อ การแข่ง คุณในวันนั้นจบลงแล้ว และต้องบอก เพื่อนนักวิ่ง บอกเจ้าหน้าที่สนาม เพื่อไป รพ ตรวจรักษา หาสาเหตุนะครับ เพราะโรคบางอย่างอาจเป็นโรคที่ต้องรักษาเร่งด่วน
วูบ ต้องตรวจให้แน่นอน ว่าไม่มีอะไรซ่อน ยิ่งตรวจเร็วยิ่งดี ถ้ายังไม่ตรวจ อย่าพึ่งไปออกกำลังครับ เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้ถ้ามีโรคซ่อน
ขอเพิ่มเติมเนื้อหาครับ
เพื่อความเข้าใจ การออก zone สูงๆ ไม่เกี่ยวกับการเสียชีวิตโดยตรงนะครับ ถ้าคนนั้นไม่มีโรคซ่อนอยู่ ออก zone สูงก็ แค่ เหนื่อย ล้า เมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ไม่ทำให้เสียชีวิต กลับกันการใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้ออกกำลังไม่หนักมาก มีโอกาสเสียชีวิตได้ครับถ้ามีโรคซ่อนครับ
สำคัญคือต้องคัดกรอง ว่าเรามีโรคซ่อนที่เราไม่รู้ตัวไหม และควรทำโดยรีบด่วน ถ้ามีอาการเตือน เหล่านี้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หน้ามืดเป็นลมครับ
ผวา! พบผู้เสียชีวิต โรคไข้ดิน 5 ศพ ครั้งแรกที่พบผู้เสียชีวิต
นพ.เดชา แซ่หลี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทพา เปิดเผยถึงกรณีพบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์โดสิส ในพื้นที่ 6 ตำบล ของ อ.เทพา จ.สงขลา ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อ 7 ราย เสียชีวิต 5 ราย นพ.เดชา กล่าวว่า ในพื้นที่ อ.เทพา พบผู้ป่วยโรคไข้ดินในพื้นที่อยู่เป็นระยะๆ ปีละ 1-2 ราย แต่ไม่เคยพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้ดินมาก่อนเลย โดยนี่เป็นปีแรกที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ในจำนวนผู้เสียชีวิต 4 ราย มีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน
ขณะนี้ในพื้นที่มีฝนตกต่อเนื่อง และมีความชื้นสูง จึงมีความห่วงใยเกษตรกรที่ต้องออกไปทำการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำการประมง เพราะเป็นโรคที่ติดต่อจากการสัมผัสดินหรือน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรีย พาหะของโรค ผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย แม้ผิวหนังไม่มีแผลสามารถติดเชื้อได้
“ขอให้เกษตรกร ผู้ทำการประมง เข้มงวดในมาตรการ 5 สวม คือ สวมหน้ากากอนามัย สวมเสื้อแขนยาว สวมถุงมือยาง สวมกางเกงขายาว และสวมรองเท้าบูท ทุกครั้งที่ลงพื้นที่ทำการเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ควรปฏิบัติตามมาตรการ 5 สวมอย่างเคร่งครัด รักษาความสะอาดและรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำต้มสุก สามารถป้องกันโรคได้” นพ.เดชา กล่าว
สำหรับอาการไข้ดินสามารถเกิดอาการได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่า ติดเชื้อในส่วนใด หาก ติดเชื้อทางผิวหนัง มีอาการแผลเรื้อรัง เกิดฝีหรือตุ่มหนองตามร่างกาย แต่หากได้รับเชื้อผ่านทางน้ำลาย เช่น การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ก็จะทำให้ได้รับเชื้อที่บริเวณต่อมน้ำลาย โดยบริเวณต่อมน้ำลายจะมีลักษณะบวมขึ้นมาเป็นฝีหรือหนอง กดแล้วเจ็บ หรือมีอาการบวมที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองในคอ
การติดเชื้อในปอด ทำให้มีอาการไข้ขึ้นและมีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจต่าง ๆ ไอ มีเสมหะ หากมีอาการดังกล่าวแพทย์จะมีการนำเสมหะไปตรวจแล้วอาจพบเชื้อ และหากมีการเอ็กซเรย์ปอดอาจพบก้อนหนองได้ และ การติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้อสามารถเข้าได้ทั้งทางผิวหนังและปอด แต่หากในกรณีที่มีบาดแผล เชื้ออาจเข้าทางบาดแผลนั้น ๆ ส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ความดันโลหิตต่ำ เป็นฝีใบตับหรือม้าม เกิดอาการช็อค และหากได้รับการรักษาไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 – 3 วัน
หอพักภูเก็ตถล่ม ระทึกกลางดึก หลังฝนตกต่อเนื่องหลายวัน จนทำปูนแตก เคราะห์ดีไม่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากเหตุครั้งนี้ เกิดเหตุระทึกกลางดึกหลังจากที่ หอพักภูเก็ตถล่ม ลงมา โดยเป็นหอพัก 2 ชั้น จำนวน 32 ห้อง ในซอยประยูร 2 (สามกอง) หมู่ที่ 5 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต เคราะห์ดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ก่อนวันเกิดเหตุนั้นเจ้าของสังเกตได้เห็นถึงปูนที่มีรอยร้าวและแตกตรงบันไดทางขึ้น และมีเสียงดัง ทำให้เจ้าของเกรงว่าจะตึกถล่ม จึงทำให้ผู้เช่าขนสิ่งของออกจากอาคารทั้งหมดตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 20 ตุลาคม ทำให้ไม่มีผู้อยู่อาศัยขณะเกิดเหตุ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป